เตรียมตัวตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ
เมื่อเริ่มรู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประจำเดือนไม่มาปกติ เต้านมคัดตึง อารมณ์เปลี่ยนแปลง หงุดหงิดง่ายหรือเหตุผลส่วนตัว อะไรก็ตามที่ทำให้รู้สึกว่าอาจตั้งครรภ์ สิ่งแรกที่
คุณแม่จะต้องคำนึงถึงก็คือ ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ
การไปฝากครรภ์
เมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์แน่นอน คุณแม่กังวลว่าจะไปฝากครรภ์ที่ไหนดี ซึ่งควรฝากกับสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพื่อความสะดวกของคุณแม่
ฝากครรภ์ครั้งแรก
คุณหมอจะถามรายละเอียดส่วนตัว ประวัติการเจ็บป่วยของคุณแม่และประวัติครอบครัว วิธีการคุมกำเนิด คุณแม่เคยตั้งครรภ์มาก่อนหรือไม่ ประจำเดือน ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ (เพื่อกำหนดเวลาที่คาดว่า
จะคลอด) ต่อจากนั้นจะชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ตรวจปัสสาวะ วัดความดันโลหิต ตรวจเลือด ตรวจเต้านม ตรวจภายในและตรวจร่างกายอย่างละเอียด แล้วจะนัดให้คุณแม่มาตรวจครรภ์ครั้งต่อไป
ฝากครรภ์ครั้งต่อไป
หลังจากฝากครรภ์ครั้งแรกแล้ว ต่อมาอีก 6-8 สัปดาห์ แพทย์จะนัดตรวจครรภ์ครั้งต่อไป และจะต้องพบแพทย์ทุกเดือน หลังจากตั้งครรภ์ 7 เดือนไปแล้ว แพทย์จะนัดถี่ขึ้น เป็นทุก 3-4 สัปดาห์
และเดือนสุดท้ายก่อนคลอดแพทย์จะนัดทุก 1-2 สัปดาห์
การตรวจครรภ์
แต่ละครั้งที่ไปฝากครรภ์แพทย์จะตรวจดูขนาดหน้าท้องและน้ำหนักของลูก รวมทั้งดูความก้าวหน้าของการตั้งครรภ์ และจะดูด้วยว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น กับคุณแม่และลูกน้อยหรือไม่
![]() |
![]() |
![]() |
คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องการ...สารอาหารไรบ้าง?
โปรตีน
เป็นสารอาหารที่สำคัญมากต่อการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อ ซึ่งจะใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของกล้ามเนื้อ กระดูก และอวัยวะต่างๆ ทั้งยังช่วยเสริมสร้าง ส่วนต่างๆ ของร่างกายลูกด้วย โปรตีนที่
รับประทานกันนั้นจะมีคุณภาพแตกต่างกัน โปรตีนที่มีคุณภาพดีคือโปรตีนจากเนื้อสัตว์และเนื้อปลา รองลงมาคือ โปรตีนที่ได้จากพืช เช่น ธัญพืช ลูกบัว ถั่ว งา เป็นต้น คุณแม่ควรรับประทานโปรตีน
หลากหลายหรืออย่างน้อยแตกต่างกันสัก 3 อย่างในแต่ละวัน
เหล็ก
คุณแม่ควรได้รับธาตุเหล็กให้เพียงพอ เพื่อใช้ในการสร้างเลือด ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้น ธาตุเหล็กจำเป็นต่อการสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นตัวนำออกซิเจน ไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ธาตุเหล็กในพืชจะดูดซึม
ง่ายกว่าในเนื้อสัตว์ และมีผลต่อการดูดซึมที่ลดลงของสังกะสี ซึ่งสังกะสีจำเป็นต่อการสร้างสมอง และระบบประสาทของทารก คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีสังกะสีควบคู่ไปด้วย เช่น ปลา ปลาหมึก และอาหารทะเล
![]() |
![]() |
แคลเซียมและฟอสฟอรัส
คือ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4-6
โฟเลต
การรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ทำให้ร่างกายได้รับโฟเลตเพียงพออยู่แล้ว ซึ่งโฟเลตมีความสำคัญต่อการแบ่งตัวของเซลล์และยังจำเป็นต่อการ สร้างพันธุกรรม DNA นอกจากนี้ยังใช้โฟเลตในการ
สังเคราะห์โปรตีน ซึ่งมีความจำเป็นต่อระบบประสาทส่วนกลางของทารกและสำคัญต่อการสร้างเม็ด เลือดแดงด้วย