1. ประวัติความเป็นมา
อำเภอกู่แก้วเดิมอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอหนองหาน ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอกู่แก้ว เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2537 ส่วนที่มาของชื่ออำเภอ "กู่แก้ว" นั้นอาศัยการตั้งชื่อตามโบราณสถานที่
สำคัญคือ ปรางกู่แก้ว ที่มีลักษณะเป็นเจดีย์เก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หรือประมาณ พ.ศ. 1720 - 1760 เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและใช้เป็นที่รักษาพยาบาล
คนเจ็บป่วย ปัจจุบันตั้งอยู่ใน วัดกู่แก้วรัตนาราม หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านจีต อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี
1.ลักษณะทั่วไป
อำเภอกู่แก้วตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดอุดรธานี บนถนนสายอำเภอหนองหาน-กุมภวาปี ระยะทางห่างจากจังหวัดอุดรธานี 67 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 186.26 ตร.กม.
หรือประมาณ 116,412.50 ไร่
2.อาณาเขต
3.ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะสำหรับการทำการเกษตรกรรม ดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทรายและพื้นที่บางแห่งเป็นดินเค็ม อาณาเขตไม่ติดภูเขา มีแม่น้ำสำคัญได้แก่ ลำห้วยไพจานใหญ่
ยาวประมาณ 11 กม. และลำห้วยสองยาง ยาวประมาณ 12 กม.
4.ลักษณะภูมิอากาศ
มีลักษณะคล้ายกับจังหวัดอื่นๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ฤดูร้อนร้อนอบอ้าวมาก ฤดูหนาวค่อนข้างหนาวจัด ฤดูฝนฝนตกหนักลมแรง ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมมี 3 ฤดู คือ
แบ่งเขตการปกครองตาม พรบ. ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2547 ออกเป็น 4 องค์การบริหารส่วนตำบล 4 ตำบล 37 หมู่บ้าน ดังนี้
อำเภอกู่แก้วมีประชากรทั้งสิ้น 21,972 คน ชาย 11,109 คน หญิง 11,860 คน ประชากรส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ มีส่วนน้อยที่อพยพมาจากที่อื่น การประกอบอาชีพมากกว่า
ร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เมื่อว่างจากการเพาะปลูกก็จะเดินทางไปทำงานยังต่างจังหวัด นอกจากนี้ยังมีแรงงานบางส่วนเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศ มีความหนาแน่นของ
ประชากรประมาณ 118คน/ตารางกิโลเมตร
1.การเกษตรกรรม
-การใช้ดินเพื่อการเกษตร อำเภอกู่แก้วมีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 91,444 ไร่ มีครอบครัวจำนวน 4,252 ครอบครัว แยกเป็นพื้นที่ทำนา 55,012 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชไร่ 36,432 ไร่
-การชลประทานและการรับน้ำ ระบายน้ำ แหล่งน้ำชลประทานที่นำมาใช้ในการเกษตร จะเป็นแหล่งน้ำขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่เป็นประเภทโครงการที่ใช้น้ำเพื่อการเกษตร
ได้แก่ลำห้วย, สระเก็บน้ำ ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอ
-มีการปลูกไผ่ตรง จำนวน 281 ไร่ ผลผลิต 1,120 กิโลกรัม/ไร่/ปี, ยางพารา จำนวน 472 ไร่
-มีการปลูกผลไม้ ได้แก่ มะม่วง, ขนุน, มะพร้าว, กล้วยน้ำหว้า, กล้วยหอมทอง เป็นต้น
-ผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ เสื่อกก, ผ้าหมี่ขิดทอมือ
1.การศึกษา
จำนวนนักเรียนเพศชาย/หญิง แยกระดับการศึกษาและจำนวนโรงเรียน ในเขตอำเภอกู่แก้ว ปีการศึกษา 2561
ระดับการศึกษา | จำนวนโรงเรียน | จำนวนนักเรียน | จำนวนครู | ||||
รัฐ | เอกชน | รวม | ชาย | หญิง | รวม | ||
ศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียน | 11 | - | 11 | 234 | 218 | 452 | 31 |
ประถมศึกษา | 9 | - | 9 | 259 | 238 | 497 | 56 |
มัธยมศึกษา | 1 | - | 1 | 256 | 281 | 546 | 25 |
มัธยมศึกษา (ขยายโอกาส) | 3 | - | 3 | 356 | 349 | 705 | 53 |
2.ศาสนา
การนับถือศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ 100% และมีสถานบันหรือองค์กรทางศาสนา ดังนี้
3.ศิลปวัฒนธรรม
ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีบุญเดือนสี่ ในเดือนมีนาคม และบุญบั้งไฟเดือนหก ในเดือนพฤษภาคมของทุกปี
1.การคมนาคม
เส้นทางติดต่อระหว่างอำเภอกู่แก้วกับอำเภอหนองหาน อำเภอกุมภวาปีและบ้านหนองหลัก อำเภอไชยวาน โดยรถโดยสารประจำทางสาย 69 วิ่งผ่านตามหมู่บ้านต่างๆ ใช้เวลาเดินทางจาก
อำเภอกู่แก้วถึงอำเภอกุมภวาปี ประมาณ 20 นาทีและเดินทางจากอำเภอกู่แก้วผ่านบ้านหนองหลัก อำเภอไชยวานถึงอำเภอหนองหาน ใช้เวลาประมาณ 30 นาที นอกจากนี้ถนนสำหรับ
การคมนาคมระหว่างหมู่บ้านเป็นถนนลูกรังอยู่ในความรับผิดชอบของ อบต. ไม่สามารถใช้ได้สะดวกทุกฤดูกาล ต้องมีการบูรณะ ซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลาเพราะชำรุดเสียหายจากน้ำเซาะพัง
2.การสื่อสาร
ประชาชนสามารถใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ครอบคลุมทุกโครงข่าย ทุกตำบล, มีที่ทำการไปรษณีย์และการไฟฟ้า อย่างละ 1 แห่ง แต่ยังไม่เป็นเอกเทศ